Why
Essential
Oils?
(Natural Therapy)
ยาสังเคราะห์ในปัจจุบันหลายชนิดมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง สถาบันโภชนาการแห่งอเมริกา (The Nutrition Institute of America) ได้ให้ทุนสนับสนุนการตรวจสอบอิสระเกี่ยวกับ "ยาที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล" ซึ่งเผยแพร่ในปี 2006 โดยศาสตราจารย์แกรี่ นัลล์ (Gary Null) และโดโรธี สมิธ (Dorothy Smith) ร่วมกับแพทย์อีกหลายท่าน ได้แก่ ดร.แคโรลีน ดีน (Carolyn Dean) มาร์ติน เฟลด์แมน (Martin Feldman) และเดโบร่า ราซิโอ (Debora Rasio) ในรายงานที่มีชื่อว่า "Death by Medicine" (ตายเพราะยา) ซึ่งผลการวิจัยพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในอเมริกา ไม่ใช่โรคหัวใจหรือมะเร็ง แต่คือการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน (Conventional Medicine) ในช่วงเวลา 10 ปี นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าการเสียชีวิตที่เกิดจากการรักษาทางการแพทย์ (Iatrogenic Deaths) จะมีจำนวนรวมประมาณ 7.8 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในสงครามทั้งหมดที่สหรัฐอเมริกาเคยเข้าร่วมในประวัติศาสตร์ทั้งหมดของประเทศ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า เรากำลังใช้เงินจำนวนมหาศาลในแต่ละปีไปกับการรักษาแบบแผนปัจจุบันที่กำลังฆ่าชีวิตผู้ป่วยในอัตราที่เร็วกว่าโรคภัยที่พวกเขากำลังรักษาอยู่
ดังนั้นเราจึงมีความเชื่อว่าการรักษาแบบธรรมชาติ (Natural Therapies) ไม่ว่าจะใช้เพียงลำพังหรือใช้ร่วมกับการรักษาแบบแผนปัจจุบัน จะสามารถสนับสนุนร่างกายในกระบวนการฟื้นฟูได้
น้ำมันหอมระเหยเป็นทางเลือกในการรักษาแบบธรรมชาติอีกหนึ่งวิธีที่นำเสนอแนวทางการบำบัดที่อ่อนโยนและสนับสนุนการรักษา และด้วยเป็น สารประกอบที่มีความซับซ้อนจากธรรมชาติที่รวมตัวกันโดยมีองค์ประกอบทางเคมีตั้งแต่ 50 ถึง 500 ชนิด ซึ่งโครงสร้างทางเคมีนี้สามารถถูกเผาผลาญในเซลล์ได้เหมือนกับสารอาหารอื่นๆ น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติระเหย (Volatile) และสามารถระเหยได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ต่างจากยาเคมีสังเคราะห์ น้ำมันหอมระเหย ไม่สะสมในร่างกาย คุณสมบัติพิเศษทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยทำให้การใช้น้ำมันเหล่านี้เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นธรรมชาติสำหรับการบำบัดร่างกาย
น้ำมันหอมระเหยสามารถรักษาโรคได้หรือไม่ ?
ยาแผนปัจจุบันหลายชนิดประกอบด้วยสารสกัดที่ได้จากพืช การรักษาในยุคโบราณมีพื้นฐานมาจากส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติทั้งหมด นักสมุนไพรและผู้บำบัดด้วยธรรมชาติได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของพืชสมุนไพรมาหลายชั่วอายุคน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่แพร่หลายเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยยังคงมีอยู่อย่างจำกัด จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ที่มีการตีพิมพ์บทความและงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การศึกษาหลายชิ้นได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำมันหอมระเหยชนิดเฉพาะกับประโยชน์ด้านสุขภาพบางอย่าง และเราจะนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ตลอดทั้งเล่มของหนังสือ
การใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัด
ในประเทศไทย การใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อการรักษายังถือว่ามีข้อจำกัดอยู่มาก แต่ในยุโรป การบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหยเป็นที่แพร่หลาย โดยน้ำมันหอมระเหยมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาที่ครอบคลุม มีน้ำมันหอมระเหยมากกว่า 100 ชนิด ที่ถูกนำมาใช้ในออสเตรียและประเทศในยุโรปเพื่อการบำบัดด้วยอโรมาเธอราพี (Aromatherapy)
ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
น้ำมันหอมระเหยจะให้ประโยชน์สูงสุดเมื่อถูกนำมาใช้เป็นส่วนเสริม (Supplement) หรือใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆ เช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งควรเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปฏิชีวนะ และฮอร์โมนที่เติมแต่ง
แม้ว่าน้ำมันหอมระเหยสามารถช่วยเสริมคุณภาพชีวิตของคุณในหลายๆ ด้าน แต่ก็ไม่ใช่ยารักษาโรคครอบจักรวาล (Cure-All) หากคุณกำลังเผชิญกับโรคที่ร้ายแรง การใช้น้ำมันหอมระเหยควรเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาที่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ
Essential Oils: The Essence of Nature
น้ำมันหอมระเหย - พลังแห่งธรรมชาติเพื่อสุขภาพที่สมดุล
ลองจินตนาการถึงกลิ่นลาเวนเดอร์ที่ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย กลิ่นเปปเปอร์มินต์ที่ทำให้คุณรู้สึกสดชื่น หรือกลิ่นกุหลาบที่ช่วยยกระดับอารมณ์ของคุณ นี่ไม่ใช่แค่ความหอมที่ทำให้รู้สึกดี แต่เป็น พลังจากธรรมชาติที่สามารถส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของคุณได้จริง กลิ่นหอมที่เรารู้สึกนั้นได้เกิดขึ้นจากการระเหยของน้ำมันหอมระเหย (essential oils) ตามธรรมชาติ ที่ซ่อนตัวอยู่ในเมล็ด เปลือก ลำต้น ราก ดอกและส่วนอื่นๆ ของพืช สารประกอบเหล่านี้ให้ทั้งความหอมที่หอมละมุน แต่มีกลิ่นที่แฝงด้วยความเข้มข้นไปพร้อมๆ กัน
น้ำมันหอมระเหยคืออะไร ?
น้ำมันหอมระเหย เป็น สารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นตามส่วนต่าง ๆ เพื่อดึงดูดแมลงมาผสมเกสร หรือเพื่อปกป้องตนเองจากศัตรูภายนอกที่จะมาทำลาย ซึ่งสารนี้อาจจะมาจากดอก ใบ กิ่ง เปลือกผลไม้ เมล็ดหรือราก ที่มีกลิ่นหอมและระเหยได้ โดยในน้ำมันหอมระเหยหนึ่งชนิดนั้น จะประกอบด้วยสารประกอบที่มีความซับซ้อนจากธรรมชาติที่รวมตัวกันโดยมีองค์ประกอบทางเคมีตั้งแต่ 50 ถึง 500 ชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกันของชนิดและปริมาณ องค์ประกอบเหล่านี้ก่อให้เกิดความเฉพาะตัวของกลิ่นในพืชแต่ละชนิด และเมื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการสกัดในรูปแบบต่างๆ กันตามความเหมาะสมของพืชนั้น ๆ ให้ได้สาร ซึ่งจัดว่ามีความบริสุทธิ์เข้มข้นสูงจึงเรียกว่า น้ำมันหอมระเหย หรือ Essential Oils
โดยน้ำมันเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ในการบำบัด จึงสามารถช่วยให้มนุษย์ได้รับคุณประโยชน์เช่นเดียวกัน เช่น ลดความเครียด ปรับสมดุลฮอร์โมน เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงสุขภาพโดยรวม นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ตลอดจนประโยชน์ที่นำมาใช้ในทางบ้านเรือน การไล่แมลง การทำความสะอาดเครื่องเรือน กลิ่นปรับอากาศ เป็นต้น
น้ำมันหอมระเหย แตกต่างจากน้ำมันทั่วไป ?
น้ำมันหอมระเหย ไม่ใช่ว่าจะสกัดได้จากพืชทุกชนิด หากต้องการเข้าใจน้ำมันหอมระเหยให้ดียิ่งขึ้น ลองพิจารณากลุ่มน้ำมันที่เรียกว่า "น้ำมันคงตัว" (Fixed Oil) หรือ น้ำมันทั่วไปก่อน น้ำมันคงตัวเป็นน้ำมันที่ไม่ระเหย (หมายความว่ามันไม่ระเหยเข้าสู่อากาศ) ซึ่งได้จากพืชหรือสัตว์ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดองุ่น และน้ำมันมะพร้าว ซึ่งเราคุ้นเคยจากการใช้งานในครัว
น้ำมันหอมระเหย หรือ Essential Oils มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจากสามารถระเหยได้ง่ายและซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังได้รวดเร็ว คุณสมบัติการระเหยนี้ทำให้น้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมและเป็นที่นิยมในด้านอโรมาเธอราปี (การบำบัดด้วยกลิ่น) โดยโมเลกุลที่ระเหยเป็นไอน้ำมันจะพากลิ่นของน้ำมันออกมา
ตัวอย่างเช่น หากคุณทาน้ำมันมะพร้าวบนผิวของคุณ มันจะยังคงความมันหรือรู้สึกเหนียวหลังจากนั้นสองนาที แต่หากคุณทาน้ำมันกำยานบนผิว หลังจากสองนาที จะไม่เหลือคราบน้ำมันเพราะน้ำมันบางส่วนได้ระเหย และส่วนที่เหลือได้ซึมเข้าสู่ผิวหนัง ลึกเข้าไปในเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ และกระแสเลือด
ทั้งนี้ในโลกเรามีต้นไม้นับพันชนิด แต่จะมีเพียง 200 กว่าชนิดที่สามารถผลิตน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่งในต้นไม้บางชนิดซึ่งถ้าเราศึกษาลึกลงไป ก็จะสามารถเลือกน้ำมันหอมระเหยมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและเป็นศาสตร์ทางเลือกเพื่อการดูแลสุขภาพที่ดี และลดการ พึ่งพายาแผนปัจจุบันและสารเคมีต่าง ๆ ได้ แต่กระนั้นพืชบางชนิดที่มีสรรพคุณทางสมุนไพร แต่อาจจะไม่สามารถนำมาสกัดนำมันหอมระเหยได้ เช่น อัญชันใบเตย ใบบัวบก เปลือกมังคุด สำหรับพืชเหล่านี้จะมีการนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของสารสกัด (Extract) เป็นส่วนใหญ่
ทำไมน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์จึงสำคัญ ?
น้ำมันหอมระเหยที่แท้จริงจะถูกสกัดจากพืช เช่น ดอกไม้ ใบไม้ ราก เปลือกไม้ และเปลือกผลไม้ โดยการเพาะปลูกที่ถูกต้องแล้ว ในกระบวนการสกัดจะต้องไม่ผ่านการใช้ตัวทำละลายทางเคมีแบบต่างๆ โดยใช้กระบวนการกลั่นด้วยไอน้ำ การสกัดเย็น หรือ การสกัดด้วย CO2 เท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างจากน้ำหอมสังเคราะห์ อย่างสิ้นเชิง น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติเต็มไปด้วยสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในขณะที่น้ำมันสังเคราะห์เพียงเลียนแบบกลิ่น แต่ไม่มีประโยชน์ทางการรักษา
เปรียบเทียบระหว่างน้ำมันหอมระเหยแท้และน้ำมันสังเคราะห์

น้ำมันหอมระเหยแท้
ส่งผลต่อระบบประสาท อารมณ์ และสมดุลของร่างกาย

น้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์
ให้แค่กลิ่นหอม แต่ไม่มีประโยชน์ด้านสุขภาพ
โดยน้ำมันหอมระเหยสามารถออกฤทธิ์ผ่าน 3 วิธีหลัก:
• การสูดดม – กระตุ้นระบบประสาท ช่วยให้ผ่อนคลายและปรับอารมณ์
• การทาผิว – ซึมเข้าสู่กระแสเลือด บรรเทาอาการปวด และบำรุงผิว
• การรับประทาน (ควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ) – สนับสนุนระบบย่อยอาหารและภูมิคุ้มกัน
The Botanique Lab เราคัดสรรน้ำมันหอมระเหย บริสุทธิ์ 100% โดยปราศจากสารสังเคราะห์หรือการเจือจาง เพื่อให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจากพลังธรรมชาติ
Method of Extraction
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชมีหลายวิธี แล้วแต่ความเหมาะสมของพืชนั้น ๆ ตลอดจนวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ โดยกว่าจะได้น้ำมันหอมระเหยแต่ละหยด ต้องใช้ ดอก ใบ ลำต้น ราก ฯลฯ เป็นจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ราคาน้ำมันหอมระเหยมีความแตกต่างกัน ดังเช่น
น้ำมันหอมระเหยกลิ่นกุหลาบ (Rose) หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ดอกกุหลาบ 4,000 กิโลกรัม (4ตัน)
น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะลิ (Jasmine) หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ดอกมะลิถึง 4 ล้านดอก หรือ 2,000 กิโลกรัม (2ตัน)
น้ำมันหอมระเหยเนโรลิ (Neroli) หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ดอกส้ม ถึง 6,000 กิโลกรัม (6ตัน)
น้ำมันหอมระเหยตะไคร้บ้าน (Lemongrass) หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ตะไคร้บ้านสด 400-500 กิโลกรัม
น้ำมันหอมระเหย Thyme หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ใบไทม์ ถึง 400 กิโลกรัม
น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะลิ (Jasmine) หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ดอกมะลิถึง 4 ล้านดอก หรือ 2,000 กิโลกรัม (2ตัน)
น้ำมันหอมระเหยเนโรลิ (Neroli) หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ดอกส้ม ถึง 6,000 กิโลกรัม (6ตัน)
น้ำมันหอมระเหยตะไคร้บ้าน (Lemongrass) หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ตะไคร้บ้านสด 400-500 กิโลกรัม
น้ำมันหอมระเหย Thyme หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ใบไทม์ ถึง 400 กิโลกรัม
ในกระบวนการการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ จะมีหลายวิธีการแตกต่างกันออกไปตามธรรมชาติของต้นไม้ ดอกไม้ รวมถึง ส่วนของต้นไม้ (อาทิ ดอก ผล ราก ใบ ลำต้น) ที่จะนำมาสกัด โดยการสกัดน้ำมันหอมระเหยสามารถแบ่งออกเป็น 6 วิธี ดังนี้
1. การกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam Distillation)
เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด ซึ่งใช้กับสมุนไพรที่ทนความร้อนจากใบ รากเปลือกไม้และยางไม้ วิธีนี้เป็นวิธีกลั่นแบบโบราณที่มีประวัติยาวนานมากว่า 5,000 ปี ในปัจจุบันเครื่องกลั่นทำมาจากสเตนเลส หรือทองแดง โดยใส่พืชลงไปในหม้อกลั่นทรงกระบอก ใช้ความร้อนเพื่อให้เกิดเป็นไอน้ำ เมื่ออุณหภูมิร้อนชื้น พืชก็จะอ่อนลงทีละน้อยพร้อมกับความดันที่เพิ่มขึ้นบนพื้นผิว เพื่อให้ไอน้ำดึงน้ำมันหอมระเหยออกมาจากพืชขึ้นไปพร้อมกับไอน้ำ ส่วนผสมของไอน้ำและน้ำมันหอมระเหยที่ออกมาจากหม้อกลั่น จะถูกส่งผ่านไปยังเครื่องควบแน่น (Condenser) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนไอน้ำและน้ำมันหอมให้เป็นของเหลว จากนั้นน้ำมันกับน้ำจะแยกชั้นกัน เมื่อน้ำมันลอยขึ้นมาบนพื้นผิวของน้ำก็แสดงว่าได้น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์พร้อมที่จะถูกเก็บใส่ภาชนะบรรจุ พร้อมกันนั้นก็จะได้น้ำที่ได้จากผลพลอยได้ของการสกัดน้ำมันหอมระเหยเรียกว่า Floral water หรือ Hydrosol ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกทางหนึ่ง จัดว่าเป็นวิธีที่สะดวก ค่าใช้จ่ายไม่สูง และใช้เวลาไม่นาน

2. การสกัดเย็น (Cold Pressed Extraction)
วิธีที่ง่ายที่สุดในการสกัดน้ำมันหอมระเหยคือการบีบอัดวัตถุดิบแล้วเก็บน้ำมัน โดยวิธีการนี้จะใช้กับพืชที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ในเปลือกชั้นนอกของผลไม้และไหลออกมาได้ง่าย อย่างเปลือกของผลไม้ตระกูลซิตรัส เช่น ส้ม เลมอน มะนาว มะกรูดที่ใช้เครื่องอัดเพื่อสกัดของเหลว แล้วจึงแยกน้ำออกจากน้ำมัน น้ำมันหอมระเหยที่สกัดโดยวิธีนี้จะมอายุการใช้ (Shelf life) ค่อนข้างสั้นกว่าชนิดอื่น

3. การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extraction)
เป็นวิธีการสกัดได้น้ำมันชนิดที่เรียกว่า Absolute กลิ่นหอมของดอกไม้ที่บอบบางมาก ๆ เช่น ดอกมะลิ ดอกบัว หรือกุหลาบ พืชจำพวกนี้จึงต้องการวิธีการที่ปราศจากไอน้ำหรือน้ำเพราะอาจถูกความร้อนทำลายกลิ่นเอกลักษณ์ไปได้ วิธีการคือการใช้ ตัวทำละลายผสมกับดอกไม้เพื่อดึงเอาสารต่าง ๆ จากพืชออกมาและจะเข้ากระบวนการกลั่นอีกครั้งจนได้สารละลายที่เรียกว่า Concrete แล้วนำไปสกัดแยกเอาตัวแวกซ์ ออก และผ่านกระบวนการแยกแอลกอฮอล์ออกอีกครั้ง จนได้สารหอมที่มีความเข้มข้นสูงหรือเรียกว่า Absolute ซึ่งมีกลิ่นหอมใกล้เคียงตัวดอกไม้และติดทนนานมากกว่าวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ โดยวิธีนี้เป็นที่นิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม

4. การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหลว (CO2 Extraction)
วิธีการนี้จะเพิ่มความดันคาร์บอนไดออกไซด์ให้เปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลวที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวทำละลาย โดยตัวทำละลายนี้จะแพร่กระจายไปที่วัตถุดิบและสกัดองค์ประกอบของสารกลิ่นหอมออกมาจากพืช จัดเป็นเทคโนโลยีที่ต้นทุนค่อนข้างสูงจึงต้องเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสมกับวิธีนี้ เช่น Jasmine, Rose, Osmanthus จะได้คุณภาพน้ำมันดีมีความบริสุทธิ์สูง ซึ่งราคาจะสูงกว่าการสกัด ด้วยไอน้ำเมื่อเปรียบเทียบการสกัดจากพืชชนิดเดียวกัน

5. การหมัก (Maceration)
สามารถทำได้ในห้องครัวของคุณ เริ่มด้วยเหยือกแก้ว สมุนไพร ดอกไม้หรือใบไม้ที่คุณเลือก น้ำมันเบส อาทิ น้ำมันมะกอก (Olive oil) หรือน้ำมันสวีต อัลมอนด์ (Sweet almond oil) ก็เป็นทางเลือกที่ดี โดยนำสมุนไพรใส่ลงในเหยือกตามด้วยน้ำมันเบส ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ น้ำมันเบสจะดึงกลิ่นและประโยชน์จากสมุนไพรออกมา จากนั้นนำไปแยกกากออก เหมาะสำหรับนำไปใช้ประโยชน์เป็นน้ำมันนวด ทำครีม ลิปบาล์ม เป็นต้น

6. อองเฟลอราจ (Enfleurage)
เป็นวิธีการสกัดด้วยไขมันสัตว์หรือน้ำมันพืชโดยใช้กับกลีบดอกไม้บาง ๆ ซึ่งเป็นเทคนิคเก่าแก่ของชาวฝรั่งเศส มีวิธีการทำโดยการใช้น้ำมันหรือไขมันที่ไม่มีกลิ่นเป็นตัวดูดซับน้ำมันที่ระเหยออกมาจากกลีบดอกไม้โดยนำตัวดูดขับแผ่วางเรียงลงบนถาด แล้วนำกลีบดอกไม้วางเรียงบนตัวดูดซับ เก็บไว้ในภาชนะปิด ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนกลีบดอกไม้ใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ จนตัวดูดซับดูดซับเอาน้ำมันหอมระเหยจนหมดเรียกว่า Pomade จากนั้นใช้แอลกอฮอล์เพื่อละลายไขมันที่ไม่ต้องการออก จะได้กลิ่นหอมที่ค่อนข้างเหมือนกลิ่นเดิม ทั้งนี้อองเฟลอราจเป็นวิธีที่สามารถทำเองได้ เนื่องจากอุปกรณ์และขั้นตอนไม่ซับซ้อน

จะเห็นได้ว่าการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชมีวิธีที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของพืชนั้นๆ ความคุ้มค่ากับปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่ได้ ตลอดจนคุณภาพที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ จะมาจากการสกัดด้วยวิธี กระบวนการกลั่นด้วยไอน้ำ การสกัดเย็น หรือการสกัดด้วย CO2 แม้ว่าบางบริษัทจะจำหน่ายสารสกัดจากพืชที่พวกเขาเรียกว่าน้ำมันหอมระเหย แต่หากต้องการเป็นน้ำมันหอมระเหยที่แท้จริง สารสกัดนั้นต้องไม่ผ่านการใช้ตัวทำละลายเคมีในการผลิต
Chemistry of Essential Oils
เคมีของน้ำมันหอมระเหย
หากคุณสนใจในการใช้น้ำมันหอมระเหย (essential Oil) เพื่อการบำบัด การมีความรู้เกี่ยวกับ เคมีของน้ำมันหอมระเหย จะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยความรู้ทางเคมีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่า น้ำมันหอมระเหยทำงานอย่างไรและทำไมมันถึงมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกใช้น้ำมันที่มีความบริสุทธิ์และคุณภาพสูง
น้ำมันหอมระเหยมีส่วนประกอบทางเคมีที่ แตกต่างจากน้ำมันชนิดอื่นๆ และความแตกต่างเหล่านี้สามารถส่งผลอย่างมากต่อ ประสิทธิภาพในการรักษา ไม่ว่าจะใช้ทาผิว สูดดม หรือรับประทาน
องค์ประกอบหลักทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย สามารถแบ่งเป็นส่วนประกอบทางเคมีหลักๆ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbons)
2. สารประกอบออกซิเจน (Oxygenated Compounds)
โดยทั้งสองกลุ่มนี้ยังแบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ที่มีส่วนประกอบหลายชนิด ซึ่งทำให้น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติและประโยชน์ที่หลากหลาย เนื้อหาการวิเคราะห์สารประกอบทางเคมีในที่นี้ จะเป็นการพิจารณากลุ่มสารประกอบทางเคมีแต่ละกลุ่มอย่างย่อ เพื่อเน้นถึง ประโยชน์ทางการรักษา ของแต่ละกลุ่ม รวมถึงน้ำมันที่มีปริมาณสารประกอบเหล่านี้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูง
1.ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbons)

1.1. โมโนเทอร์ปีนส์ (Monoterpenes)
เป็นกลุ่มสารเคมีที่มีส่วนประกอบซึ่งมักถูกจัดว่าเป็น "Top Notes" พบในน้ำมันหอมระเหยเกือบทุกชนิดในปริมาณต่างๆ กัน น้ำมันหมอระเหย ที่มีสารโมโนเทอร์ปีนส์มากกว่า 60% ได้แก่:
- น้ำมันกำยาน (Frankincense)
- น้ำมันเกรปฟรุต (Grapefruit)
- น้ำมันไซเปรส (Cypress)
- น้ำมันมะนาว (Lemon)
- น้ำมันจูนิเปอร์เบอร์รี่ (Juniper Berry)
- น้ำมันส้มหวาน (Sweet Orange)
คุณสมบัติการรักษาของโมโนเทอร์ปีนส์
- ลดอาการปวด (Analgesic)
- ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Anti-Bacterial)
- ต้านการติดเชื้อ (Antiseptic)
- ลดอาการคัดจมูก (Decongestant)
- เหมาะสำหรับการกระจายกลิ่น เนื่องจากสามารถฆ่าเชื้อโรคในอากาศได้
- ขับเสมหะ (Expectorant)
- แทรกซึมลึกถึงกล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นเอ็นที่ตึงเครียด
- เพิ่มการไหลเวียนของเลือด (Rubifacient)

1.2. เซสควิเทอร์ปีนส์ (Sesquiterpenes)
เซสควิเทอร์ปีนส์เป็นสารที่พบได้ในน้ำมันหอมระเหยเกือบทุกชนิด จากงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์ลินและเวียนนาแสดงให้เห็นว่า เซสควิเทอร์ปีนส์ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในบริเวณ ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) และ ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) นอกจากนี้ งานวิจัยเพิ่มเติมระบุว่า เซสควิเทอร์ปีนส์สามารถ ผ่านแนวกั้นสมอง-เลือด (Blood-Brain Barrier) และเข้าสู่เนื้อเยื่อสมองได้
คุณสมบัติการบำบัดของเซสควิเทอร์ปีนส์
แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะจำแนกคุณสมบัติทั้งหมดของเซสควิเทอร์ปีนส์ แต่ตัวอย่างคุณสมบัติการบำบัดหลัก ได้แก่:
- บรรเทาอาการปวด (Analgesic)
- ต้านเชื้อรา (Anti-Fungal)
- ต้านการอักเสบ (Anti-Inflammatory)
- ต้านการเกร็ง (Anti-Spasmodic)
- ฆ่าเชื้อโรค (Antiseptic)
- ช่วยให้ผ่อนคลาย (Sedative)
2.สารประกอบที่มีออกซิเจน (Oxygenated Compounds)

2.1. ฟีนอล (Phenols)
ฟีนอลมีคุณสมบัติทางการรักษาที่โดดเด่น เนื่องจากช่วยกระตุ้นระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน ฟีนอลเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการต่อสู้กับการติดเชื้อที่รุนแรง ตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยที่มีฟีนอลในปริมาณสูง ได้แก่:
- น้ำมัน Wintergreen
- น้ำมัน Oregano
- น้ำมัน Clove
- น้ำมัน Tea Tree
คุณสมบัติการบำบัดของฟีนอล
- ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Anti-Bacterial)
- ต้านการติดเชื้อ (Antiseptic)
- ฆ่าเชื้อโรค (Disinfectant)
- กระตุ้นระบบ (Stimulant)

2.2. แอลกอฮอล์ (Alcohols)
แอลกอฮอล์ในน้ำมันหอมระเหยแบ่งออกเป็น โมโนเทอร์ปีน แอลกอฮอล์ (Monoterpene Alcohols) และ เซสควิเทอร์ปีน แอลกอฮอล์ (Sesquiterpene Alcohols)
เซสควิเทอร์ปีน แอลกอฮอล์ มักไม่พบในปริมาณมากในน้ำมันหอมระเหย แต่เมื่อพบ เช่น บิซาโบลอล (Bisabolol) ในน้ำมันคาโมมายล์เยอรมัน จะมีคุณสมบัติเด่น เช่น:
- กระตุ้นการทำงานของตับและต่อมต่างๆ
- ต้านอาการแพ้ (Anti-Allergen)
- ต้านการอักเสบ (Anti-Inflammatory)
ตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยที่มีเซสควิเทอร์ปีน แอลกอฮอล์ ได้แก่:
- น้ำมัน Sandalwood
- น้ำมัน Ginger
- น้ำมัน Patchouli
- น้ำมัน Vetiver
- น้ำมัน Carrot Seed
- น้ำมัน Valerian
โมโนเทอร์ปีน แอลกอฮอล์ มีผลข้างเคียงที่พบได้น้อยมาก มีคุณสมบัติกระตุ้นพลังงานและเพิ่มความสดชื่น (Uplifting, Energizing Effect) ตัวอย่างน้ำมันที่มีโมโนเทอร์ปีน แอลกอฮอล์ในปริมาณสูง ได้แก่
- น้ำมัน Lavender
- น้ำมัน Rose
- น้ำมัน Geranium
- น้ำมัน Juniper
- น้ำมัน Tea Tree
คุณสมบัติการบำบัดของโมโนเทอร์ปีน แอลกอฮอล์
- ต้านเชื้อรา (Anti-Fungal)
- ต้านไวรัส (Anti-Viral)
- ฆ่าเชื้อโรค (Antiseptic)

2.3. เอสเทอร์ (Esters)
เป็นสารประกอบในน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยผ่อนคลายและสร้างความสมดุลได้ดีที่สุด เอสเทอร์มีคุณสมบัติในการ ควบคุมระบบประสาท และ ต้านการเกร็ง (Anti-Spasmodic) ตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยที่มีปริมาณเอสเทอร์สูง ได้แก่:
- Roman Chamomile
- Jasmine Absolute
- Helichrysum
คุณสมบัติการบำบัดของเอสเทอร์:
- บรรเทาอาการปวด (Analgesic)
- ต้านการอักเสบ (Anti-Inflammatory)
- ทำให้สงบ (Sedative)
- ช่วยปลอบประโลม (Soothing)
- ลดความเครียด (Stress-Reducing)

2.4. อัลดีไฮด์ (Aldehydes)
อัลดีไฮด์มีคุณสมบัติช่วย ทำให้ระบบประสาทสงบ อัลดีไฮด์เป็นที่รู้จักในเรื่อง บรรเทาความเครียด และ ส่งเสริมการผ่อนคลาย อาจทำให้ระคายเคืองเมื่อใช้กับผิวหนังโดยตรง แต่เมื่อสูดดมจะมีผลช่วยให้สงบอย่างลึกซึ้ง ตัวอย่างน้ำมันที่มีปริมาณอัลดีไฮด์สูง ได้แก่
- Cinnamon Bark (เปลือกอบเชย)
- Lemongrass (ตะไคร้)
คุณสมบัติการบำบัดของอัลดีไฮด์:
- ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Anti-Bacterial)
- ต้านเชื้อรา (Anti-Fungal)
- ต้านการอักเสบ (Anti-Inflammatory)
- ต้านการเกร็ง (Anti-Spasmodic)
- ลดไข้ (Fever Reducer)
- ทำให้สงบ (Sedative)

2.5. คีโตน (Ketones)
คีโตนมี กลิ่นหอมเฉพาะตัว และช่วยในเรื่องการผ่อนคลายและทำให้สงบ คีโตนช่วย กระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ และ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อใหม่ คีโตนยังช่วยทำให้ เสมหะละลาย ทำให้เหมาะสำหรับการแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยที่มีคีโตนในปริมาณสูง ได้แก่:
- Peppermint
- Rosemary
- Vetiver
- Spike Lavender
คุณสมบัติการบำบัดของคีโตน:
- บรรเทาอาการปวด (Analgesic)
- ต้านการเกร็ง (Anti-Spasmodic)
- ช่วยสมานแผลเป็น (Cicatrisant/Scar Healing)
- เพิ่มการไหลเวียนโลหิต (Rubifacient)
- ช่วยรักษาบาดแผล (Wound Healing)

2.6.ออกไซด์ (Oxides)
ออกไซด์เป็น สารที่ช่วยขับเสมหะ และสามารถกระตุ้นได้ในระดับเล็กน้อย 1,8-Cineole หรือ Eucalyptol เป็นสารที่พบมากที่สุดในกลุ่มออกไซด์ และเหมาะสำหรับปัญหาระบบทางเดินหายใจ น้ำมันหอมระเหยที่มีปริมาณออกไซด์สูง ได้แก่
- Eucalyptus (ยูคาลิปตัส)
- Ravensara
- Rosemary (โรสแมรี่)
คุณสมบัติการบำบัดของออกไซด์:
- ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Anti-Bacterial)
- ต้านเชื้อรา (Anti-Fungal)
- ต้านไวรัส (Anti-Viral)
- กระตุ้นการไหลเวียนเลือดไปยังสมองเมื่อสูดดม
How Scents influence hormone and emotion
เคมีของน้ำมันหอมระเหย
ประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นของมนุษย์ เป็นประสาทสัมผัสที่มีความไวและทรงพลังมากกว่าประสาทสัมผัสอย่างอื่น (ตา หู จมูก ลิ้น) กลิ่นทำให้เรานึกถึงประสบการณ์ชีวิตบางช่วงในอดีต ผสมผสานความทรงจำเก็บเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งดีและไม่ดีได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยมีการทำงานเชื่อมโยงกับสมองส่วนต่าง ๆ และกระบวนการการทำงานของระบบประสาท และการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ (ผลิตฮอร์โมน)
การสูดดมน้ำมันหอมระเหย
มีการประเมินว่ามนุษย์มีความสามารถในการแยกแยะกลิ่นหอมต่าง ๆ ได้มากกว่า 10,000 กลิ่น จากประสาทสัมผัสทั้งหมด การได้กลิ่นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์มากที่สุด ซึ่งความจริงแล้วความสามารถในการรับรู้กลิ่นมีผลต่อความรู้สึกดีของมนุษย์เป็นอย่างมาก บุคคลที่สูญเสียการรับรู้กลิ่นมักจะมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล แนวคิดทั้งหมดของสุคนธบำบัด (Aromatherapy) มีรากฐานมาจากวิธีที่กลิ่นหอมมีปฏิกิริยาโดยตรงต่อสมองและเคมีในสมอง รวมทั้งส่งผลต่อร่างกายของมนุษย์นั่นเอง
ทั้งนี้การทำงานของกลิ่นหอมเกี่ยวข้องกับวิถีอันซับซ้อนของสมอง เมื่อเราสูดดมกลิ่นเข้าไป เราได้รับโมเลกุลความหอมที่จะไปรวมกับเซลล์รับความรู้สึกในรูจมูก จากตรงนี้เซลล์เหล่านั้นจะส่งสารไปยังออลแฟกทอรีบัลบ์ (Olfactory bulb) ในสมองส่วนหน้าและถูกแปลออกมาเป็นกลิ่นและโมเลกุลที่ถูกสูดดมเข้าไปยังปอด ส่งผลต่อ ความรู้สึก (emotion) ความทรงจำ (memory) และ ฮอร์โมน (hormone)
จากการศึกษาพบว่า การหายใจเอากลิ่นเข้าไปทำให้เกิดผลทันทีกับการทำงานของสมอง สื่อสารไปถึงใจกลางของสมองที่เชื่อมโยงกับจิตใต้สำนึกได้และเข้าถึงระบบลิมบิกหรือแผงสวิตช์อารมณ์ของสมอง (Limbic system) ซึ่งเป็นที่ควบคุมความทรงจำและอารมณ์ รวมถึงแรงกระตุ้นต่าง ๆ เช่น สู้หรือหนี ลักษณะนิสัย อาการตื่นเต้น ตื่นตัว ซึ่งระบบลิมบิกยังเชื่อมโยงไปถึงระบบฮอร์โมนและกระแสเลือดอีกด้วย
เส้นทางของกลิ่นในการทำงานกับร่างกายโดยการสูดดม และผลกระทบต่ออารมณ์และฮอร์โมน
1. หลอดรับกลิ่น (Olfactory Bulb): จุดเริ่มต้นของการรับกลิ่น โมเลกุลของกลิ่นจับกับตัวรับกลิ่นในโพรงจมูก สัญญาณเดินทางผ่านเส้นประสาทรับกลิ่นไปยังหลอดรับกลิ่น ซึ่งเป็นจุดที่ประมวลผลข้อมูลเริ่มต้นเกี่ยวกับกลิ่น
2. การเชื่อมต่อกับสมอง: หลอดรับกลิ่นมีการเชื่อมต่อโดยตรงกับหลายส่วนของสมอง โดยไม่ต้องผ่านฐานสมองส่วนทาลามัส (Thalamus) ซึ่งต่างจากประสาทสัมผัสอื่น เช่น การมองเห็นหรือการสัมผัส คุณสมบัติพิเศษนี้ทำให้กลิ่นมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความทรงจำได้อย่างรวดเร็ว
3. การประมวลผลกลิ่นในนีโอคอร์เทกซ์ (Neocortex): คอร์เทกซ์ส่วนหน้าของสมอง (Orbitofrontal Cortex) มีบทบาทในการระบุและวิเคราะห์กลิ่น การประมวลผลในระดับสมองชั้นสูงนี้ช่วยให้เราสามารถรับรู้และประเมินความสำคัญของกลิ่นได้อย่างมีสติ
4. เส้นทางสู่ระบบลิมบิก (Limbic System): จากหลอดรับกลิ่น สัญญาณจะถูกส่งไปยังระบบลิมบิก ซึ่งรวมถึง
• อะมิกดาลา (Amygdala): มีบทบาทในการประมวลผลอารมณ์และการเชื่อมโยงความทรงจำ
• ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus): เกี่ยวข้องกับการเก็บและดึงข้อมูลความทรงจำ
การเชื่อมต่อเหล่านี้อธิบายว่าทำไมกลิ่นจึงสามารถกระตุ้นอารมณ์และความทรงจำได้อย่างรุนแรง
5. ไฮโปทาลามัสและการควบคุมฮอร์โมน: ไฮโปทาลามัสได้รับอิทธิพลจากสัญญาณของระบบลิมบิก
• ไฮโปทาลามัสควบคุมต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ซึ่งเป็น “ต่อมหลัก” ของระบบต่อมไร้ท่อที่ควบคุมการผลิตฮอร์โมน
• จาก ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) จะเป็นตัวควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆอีก อาทิ ต่อมไพนัล
เส้นทางนี้เป็นการอธิบายว่า กลิ่นสามารถส่งผลต่อสมดุลฮอร์โมน เช่น ลดฮอร์โมนความเครียดอย่างคอร์ติซอล (Cortisol) หรือกระตุ้นฮอร์โมนผ่อนคลายอย่างออกซิโทซิน (Oxytocin)
2. การเชื่อมต่อกับสมอง: หลอดรับกลิ่นมีการเชื่อมต่อโดยตรงกับหลายส่วนของสมอง โดยไม่ต้องผ่านฐานสมองส่วนทาลามัส (Thalamus) ซึ่งต่างจากประสาทสัมผัสอื่น เช่น การมองเห็นหรือการสัมผัส คุณสมบัติพิเศษนี้ทำให้กลิ่นมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความทรงจำได้อย่างรวดเร็ว
3. การประมวลผลกลิ่นในนีโอคอร์เทกซ์ (Neocortex): คอร์เทกซ์ส่วนหน้าของสมอง (Orbitofrontal Cortex) มีบทบาทในการระบุและวิเคราะห์กลิ่น การประมวลผลในระดับสมองชั้นสูงนี้ช่วยให้เราสามารถรับรู้และประเมินความสำคัญของกลิ่นได้อย่างมีสติ
4. เส้นทางสู่ระบบลิมบิก (Limbic System): จากหลอดรับกลิ่น สัญญาณจะถูกส่งไปยังระบบลิมบิก ซึ่งรวมถึง
• อะมิกดาลา (Amygdala): มีบทบาทในการประมวลผลอารมณ์และการเชื่อมโยงความทรงจำ
• ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus): เกี่ยวข้องกับการเก็บและดึงข้อมูลความทรงจำ
การเชื่อมต่อเหล่านี้อธิบายว่าทำไมกลิ่นจึงสามารถกระตุ้นอารมณ์และความทรงจำได้อย่างรุนแรง
5. ไฮโปทาลามัสและการควบคุมฮอร์โมน: ไฮโปทาลามัสได้รับอิทธิพลจากสัญญาณของระบบลิมบิก
• ไฮโปทาลามัสควบคุมต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ซึ่งเป็น “ต่อมหลัก” ของระบบต่อมไร้ท่อที่ควบคุมการผลิตฮอร์โมน
• จาก ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) จะเป็นตัวควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆอีก อาทิ ต่อมไพนัล
เส้นทางนี้เป็นการอธิบายว่า กลิ่นสามารถส่งผลต่อสมดุลฮอร์โมน เช่น ลดฮอร์โมนความเครียดอย่างคอร์ติซอล (Cortisol) หรือกระตุ้นฮอร์โมนผ่อนคลายอย่างออกซิโทซิน (Oxytocin)